วันอาทิตย์, 13 ตุลาคม 2567

การแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022 : ก้าวกระโดดสู่นวัตกรรม

ในอดีตทศวรรษที่ 1920 มีการแข่งขันมาราธอน เพื่อวัดศักยภาพร่างกายมนุษย์ ภายหลังคำว่า “มาราธอน” จึงกลายเป็นคำที่มีความหมายสื่อถึงการแข่งขันที่ดึงศักยภาพของสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมาในช่วงเวลาจำกัดตามศักยภาพของมนุษย์-

ในทศวรรษที่ 1980 ท่ามกลางความก้าวหน้าของเทคโนโลยี นวัตกรรมคอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่หน้าจอมอนิเตอร์เพียงอย่างเดียว อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไร้สายได้เข้ามีบทบาทเอื้ออำนวยให้ผู้ใช้งานสะดวกสบายมากขึ้น

Hackathon คืออะไร

Hackathon หมายถึง การสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน เกิดจากคำสองคำ คือ “Hack” ที่หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ชอบคิดใหม่ ทำใหม่ และ “Marathon” หมายถึงกิจกรรมแข่งขันที่ใช้ระยะเวลานาน เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมแข่งขันในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง อาจจะกำหนดไว้ 12, 24 หรือ 48 ชั่วโมง

Hackathon จึงเป็นกิจกรรมที่รวมเหล่า Hacker ทั้งหลายที่พร้อมคิดใหม่ทำใหม่ มาร่วมกันแข่งขันพัฒนาโปรเจกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตัวอย่างทักษะของสมาชิกผู้เข้าแข่งขันการพัฒนาโปรเจกต์นี้ ได้แก่ ความเข้าใจในภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language), ระบบปฏิบัติการ (Operating System), แอปพลิเคชัน (Application) และ เอพีไอ (Application Programming Interface : API) เป็นต้น

ใครที่เข้าเป็นผู้แข่งขัน Hackathon ได้บ้าง

การแข่งขันเพื่อพิชิตชัยทางความคิดนี้ มุ่งสู่การออกแบบระบบโปรแกรม หรือโปรเจกต์ที่ตอบสนองการแก้ปัญหาโจทย์ที่กำหนด โดยผู้ตัดสิน คือ ผู้เชี่ยวชาญในโจทย์กิจกรรมนั้นๆ หรือเป็นนักลงทุนที่สนใจนำกระบวนการของผู้ชนะไปปฏิบัติใช้งานจริง ผู้ที่เข้าร่วมแข่งขัน ได้แก่

  • Software Development
  • Graphic Designer
  • Interface Designer
  • Project Manager
  • Domain Expert

ประวัติการแข่งขัน Hackathon ในประเทศไทย

  • Emergency Diaster Mitigation Hackathon
    กิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือของหน่วยงานสถาบันนวัตกรรมแห่งชาติ, The Asia Foundation, Data.go.th และ Social Technology Institute โดยใช้ข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมกัน เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันแจ้งเตือนภัยพิบัติทางธรรมชาติ
  • LINE Hack Thailand 2016
    กิจกรรมแข่งขันสร้างบริการใหม่ๆ ภายใต้ Business Connection API ของ LINE
  • Education Disruption Hackathon 2018
    กิจกรรมค้นหา Edtech Startup เพื่อค้นหานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

ในต่างประเทศ การแข่งขัน Hackathon ได้สร้างสิ่งใหม่ให้สังคมด้วยการตอบโจทย์แก้ปัญหาที่ใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยได้ ปัจจุบันการแข่งขันนี้ขยายจากการใช้ Web Page เป็นการใช้แอปพลิเคชัน และการใช้ เอพีไอ (Application Programming Interface : API) โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างนักพัฒนา และหน่วยงานรัฐที่มีข้อมูลจำนวนมาก เพื่อค้นหากระบวนการนำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลช่วยแก้ปัญหาโจทย์ตามวัตถุประสงค์การแข่งขัน

การแข่งขัน Hackathon จึงเป็นการขับเคลื่อนสังคมอย่างหนึ่งในกลุ่ม Start Up เพราะเกิดการระดมสมอง แก้ปัญหาทางสังคม และเป็นกิจกรรมรวมตัวของหน่วยงานกับประชาชนที่สนใจ 

สุดท้ายนี้ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมติดตามผลการแข่งขัน ของกระทรวงศึกษาธิการ

(tear drop) ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้เกิด ภาวการณ์การเรียนรู้ถดถอย ส่งผลถึงการพัฒนาทักษะตามช่วงวัยสูญเสียไป นำไปสู่ช่องว่างของระบบการศึกษาไทย

(light bulb)การแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022 : ก้าวกระโดดสู่นวัตกรรม เป็นอีกวิธีการหนึ่งสำหรับการรับมือกับปัญหาดังกล่าว ซึ่งเป็นภารกิจที่นักการศึกษาจะมาช่วยกันเติมเต็มในสิ่งที่ขาดหายไป

(praying) กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงขอเชิญชวนทุกท่านติดตามการแข่งขัน ระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2565 ผ่านช่องทาง ดังนี้

  1. www.ottc.obec.go.th
  2. www.youtube.com/obectvonline
  3. www.facebook.com/obectvon

ที่มา : สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ