วันอังคาร, 16 เมษายน 2567

การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้

ด้านงานการศึกษา ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม

พลเอกสุรเชษฐ์  ชัยวงศ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า จากการที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ความสำคัญกับ “การเสริมสร้างเอกภาพ และประสิทธิภาพ” ในทุกระดับ

ความเป็นมา

            ความมั่นคงของชาติ เป็นการดำรงอยู่ของประเทศอย่างสงบสุขและปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงทั้งภายในและภายนอกประเทศ ปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดนเป็นปัญหาที่มีความสำคัญและเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานด้านความมั่นคงต้องปรับทิศทางการพัฒนาและแก้ปัญหาให้สอดคล้องและเกิดความสมดุลกับความมั่นคงของชาติที่นำไปสู่การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันปัญหาการสื่อสารเป็นปัญหาที่มีความสำคัญ เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักในการสื่อสารส่งผลต่อทักษะด้านการอ่าน การเขียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน

            จากปัญหาของการจัดการศึกษาที่กล่าวมาข้างต้น สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำ “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนพื้นที่ชายแดน พ.ศ. 2560-2564” เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนในพื้นที่ชายแดน ให้สามารถจัดการศึกษาให้กับประชากรวัยเรียนในพื้นที่ชายแดนได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุมและมีคุณภาพต่อไป

จาก 6 ยุทธศาสตร์

  1. เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง
  2. ผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการแข่งขัน
  3. พัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
  4. สร้างโอกาส ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางการศึกษา
  5. เสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  6. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาและส่งเสริมทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม

จากยุทธศาสตร์สู่นวัตกรรมแก้ปัญหาการศึกษาชายแดนใต้

  • โครงการศาสตร์พระราชาในสถาบันปอเนาะ
  • โครงการหนึ่งครูอาสาหนึ่งครูปอเนาะ
  • โครงการค่ายพรีโอลิมปิกวิชาการ
  • โครงการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทย
  • การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางการศึกษา
  • โครงการโรงเรียนอุปถัมภ์
  • โครงการรินน้ำใจสู่ชาวใต้
  • ทุนภูมิทายาท

แนวทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติ

         ระดับ สพฐ.

  1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานทุกระดับ
  2. ใช้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
  3. สร้างความรู้ ความเข้าใจในสาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
  4. ให้การสนับสนุนทรัพยากรอย่างเพียงพอและเหมาะสม
  5. ติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
  6. วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
  7. ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

ระดับเขตพื้นที่

  1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่
  2. ดำเนินการแปลงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
  3. ดำเนินการชี้แจงสร้างความรู้ ความเข้าใจในสาระสำคัญของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
  4. จัดสรรทรัพยากรสำหรับการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างเหมาะสม
  5. การติดตามและประเมินผลตามแผนยุทธศาสตร์ตามนโยบายของ สพฐ.
  6. วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้
  7. ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

ระดับโรงเรียน

  1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือ
  2. ดำเนินการแปลงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา
  3. ปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างเหมาะสม
  4. การติดตามและประเมินผลตามแผนยุทธศาสตร์ตามนโยบายของ สพฐ.
  5. วิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาโรงเรียน
  6. ประชาสัมพันธ์การดำเนินงานการจัดการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

ผลลัพธ์ที่ต้องการ

  • ประชาชนมีโอกาสทางการศึกษา
  • มีความรู้ความเข้าใจในหลัก ศาสนา
  • ให้การศึกษาเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ การสื่อสาร และโอกาสในการพัฒนาทุกด้าน รวมทั้ง เป็นศักยภาพสำคัญในการเตรียมความพร้อมรองรับการติดต่อสื่อสารและเชื่อมสัมพันธ์ภายในประชาคมอาเซียน

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  • เพิ่มโอกาสทางการศึกษา
  • พัฒนาคุณภาพทางการศึกษา
  • เสริมสร้างทักษะชีวิตทักษะอาชีพการมีงานทำ
  • พัฒนาระบบการบริหารงานบุคลากร
  • พัฒนาระบบการบริหารการจัดการศึกษา